วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565

Raster Model

 การทำ Raster Model ด้วยโปรแกรม ArcMap



Raster Model

การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการปลูกข้าวจังหวัดปราจีนบุรี มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

  • กำหนดวัตถุประสงค์
            1.ความเหมาะสมของพื้นที่เหมาะสมในแต่ละระดับมีพื้นที่เท่าใด

            2.ในแต่ละพื้นที่ (อำเภอ) มีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวอยู่ในระดับใดบ้าง


  • คัดเลือกและกำหนดตัวแปรที่ใช้วิเคราะห์
            1.ปริมาณน้ำฝน
            2.การระบายน้ำของดิน
            3.ความลาดชัน
            4.ระยะห่างจากเส้นทางน้ำ

  • การเตรียมข้อมูล
            1.การนำเข้าข้อมูลจุดความสูง การสร้างแบบจำลองความสูงเชิงตัวเลข (DEM) การคำนวณความลาดชัน
            2.การจัดการและแก้ไขข้อมูลคุณลักษณะ

  • กำหนดค่าคะแนนและค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละตัวแปร




เปิดโปรแกรม ArcMap



ทำการวิเคราะห์ตัวแปรที่ 1 คือ Soil = การระบายน้ำของดิน

เปิดข้อมูลที่ชื่อว่า Prachin_soil จาก Catalog


คลิกขวาที่ Prachin_soil แล้วไปที่ Open Attribute table เพื่อตรวจสอบ Field ในการคำนวณ



สร้าง Field ใหม่ กดที่ table option แล้วไปที่ Add Field ตรง Name ตั้งชื่อว่า Rating 
ตรง Type เลือกเป็น Short integer เลือกเสร็จแล้ว กด OK


Field ที่ได้



จากนั้นไปที่ Select by attributes เลือก "drain" กำหนดค่า เลว  แล้วกดที่ Get unique values
คลิก = แล้วดับเบิ้ลคลิก 'เลว' เมื่อเลือกเสร็จแล้วกด Apply




คลิกขวาที่ Rating แล้วไปที่ Field Calculator เพื่อใส่ค่า 4 ตามตาราง จากนั้นกด OK


Clear Selection แล้วกด Select By Attributes ทำให้ครบทุกอัน (เลว ค่อนข้างเลว ปานกลาง ดี) 
คลิกขวาที่ Rating แล้วไปที่ Field Calculator เพื่อใส่ค่าให้ครบ ( 4 3 2 1 ) เสร็จแล้วจะได้แบบนี้


ไปที่เครื่องมือ Arc Toolbox  >  Conversion Tools  >  To Raster  >   Polygon to Raster


ตรง Input Features เลือก Prachin_soil และเลือก value field เลือก Rating แล้วตั้งชื่อว่า soil_re 
แล้วตั้ง cellsize = 40 จากนั้นกด OK


ผลลัพธ์ที่ได้ของ soil_re









ทำการวิเคราะห์ตัวแปรที่ 2 คือ Slope = ความลาดชัน

เปิดข้อมูลที่ชื่อว่า Prachin_elevation และ Prachin_pro


จากนั้นไปที่เครื่อง Arc Toolbox > Spatial Analyst Tool  >Interpolation  >  IDW



ตรงInput features เลือก Prachin_elevation ตรง Z value field เลือก elevation 
ตรง Output  ตั้งชื่อว่า IDW และ cellsize = 40



จากนั้นคลิกที่ Environment เลือกที่ Processing Extent เลือก Same as layer Prachin_pro 



แล้วไปที่ Raster Analysis ตรง Mask เลือกเป็น Prachin_pro เลือกเสร็จแล้วกด OK


ผลลัพธ์ที่ได้ของ IDW

ไปที่เครื่องมือ Arc Toolbox  >  Spatial Analyst Tool  > surface  เลือก  slope
Input raster เลือก IDW ตรง Output ตั้งชื่อว่า slope m และ Optional เลือก Percent_rise  > กด OK





ผลลัพธ์ที่ได้ของ slope


จากนั้นทำการแบ่งกลุ่มของ slope 
ไปที่เครื่องมือ Arc Toolbox  >  Spatial Analyst Tool  >  Reclass  >  Reclassify
ช่อง Input raster ให้เลือก slope แล้วคลิกที่ Classify



จากนั้นทำการแบ่ง Classes ให้เป็น 4 แล้วเลือกช่อง Method ให้เป็น Manual และตรง Break Value ตั้งค่าตามนี้  12, 20, 35, >35 ตามลำดับ จากนั้นกด OK


ตรง New values ให้เปลี่ยนเป็น 4 3 2 1 เรียงลง จากนั้น ตรง Output raster ให้ตั้งชื่อว่า slpoe_rec
จากนั้นกด OK


ผลลัพธ์ที่ได้ของ slope_rec










ทำการวิเคราะห์ตัวแปรที่ 3 คือ Rain = ปริมาณน้ำฝน

โดยใช้ข้อมูล DEM เปิด prachin_rainsta และ prachin_pro 





ไปที่ Arc Toolbox  >  Spatial Analyst Tool   >  Interpolation   >   IDW
ตรงInput features เลือก Prachin_rainsta ตรง Z value field เลือก  ANNUAL
ตรง Output  ตั้งชื่อว่า RAIN และ cellsize = 40




คลิกที่ Environment เลือกที่ Processing Extent เลือก Same as layer Prachin_pro 




แล้วไปที่ Raster Analysis ตรง Mask เลือกเป็น Prachin_pro เลือกเสร็จแล้วกด OK


ผลลัพธ์ของ rain



จากนั้นทำการแบ่งกลุ่มของ rain
ไปที่เครื่องมือ Arc Toolbox  >  Spatial Analyst Tool  >  Reclass  >  Reclassify
ช่อง Input raster ให้เลือก rain แล้วคลิกที่ Classify




จากนั้นทำการแบ่ง Classes ให้เป็น 1 แล้วเลือกช่อง Method ให้เป็น Manual  จากนั้นกด OK


ผลลัพธ์ที่ได้ของ RAIN










ทำการวิเคราะห์ตัวแปรที่ 4 หรือตัวแปรสุดท้าย คือ Stream = ระยะห่างจากเส้นทางน้ำ

โดยเปิด Prachin_strm และ Prachin_pro เพื่อทำการคำนวณหาค่าระยะห่างจากเส้นทางน้ำ





จากนั้นไปที่เครื่องมือ Arc Toolbox > Spatial Analyst Tool > Distance > Euclidean Distance
ในช่อง Input point features ให้เลือกข้อมูล Prachin_strm ช่อง Output raster ให้เลือก folder ที่ต้องการ Save แล้ว ตั้งชื่อ ในช่อง Output cell size ใส่ 40 จากนั้น > กด Environments



คลิกที่ Environment เลือกที่ Processing Extent เลือก Same as layer Prachin_pro 


แล้วไปที่ Raster Analysis ตรง Mask เลือกเป็น Prachin_pro เลือกเสร็จแล้วกด OK




ผลลัพธ์ของ Stream




ต่อมาทำการ Reclassify ไปที่เครื่องมือ Reclassify ขึ้นมา 
โดยไปที่เครื่องมือ Arc Toolbox   >   Spatial Analyst Tools Reclass  >   Reclassify
ในช่อง Input raster เลือก stream ใน ช่อง Reclass field ให้เลือก  Value จากนั้นคลิกที่ Classify



จากนั้นทำการแบ่ง Classes ให้เป็น 4 แล้วเลือกช่อง Method ให้เป็น Manual และตรง Break Value ตั้งค่าตามนี้  700 1600 2000 6040   ตามลำดับ จากนั้นกด OK


ในช่อง New Values ให้เปลี่ยนเป็นตัวเลข 4 3 2 1 ลงมาตามลำดับในช่อง Output raster ให้ทำการเลือก Folder ที่ต้องการ Save และตั้งชื่อ stream_rec จากนั้นกด Save > กด OK



ผลลัพธ์ของ stream_rec





วิเคราะห์ซ้อนทับพื้นที่ ( Overlay Analysis)

ไปที่เครื่องมือ Arc Toolbox  >  Spatial Analyst Tools  >  Map Algebra > Raster Calculator
จะมีหน้าต่างแสดง Raster Calculator ขึ้นมา ให้ทำการใส่สูตร 
("soil_re" * 0.3) + ("slope|re" * 0.2) +  ("rain_re" * 0.4) + ("stream_re" * 0.1) 
ในช่อง Output raster ให้ทำการเลือก Folder ที่ต้องการ Save และตั้งชื่อ sum  จากนั้นกด Save  > กด OK


ผลลัพธ์แผนที่รวมตัวแปล sum







การจัดกลุ่มพื้นที่เหมาะสม3กลุ่ม  
(เหมาะสมน้อย เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมมาก)
การทำ Reclassify ไปที่เครื่องมือ Reclassify ขึ้นมา 
โดยไปที่เครื่องมือ  ArcToolbox  >  Spatial Analyst Tools  >  Reclass Reclassify
ในช่อง Input raster เลือก sum ในช่อง Reclass field ให้เลือก 
 Value 


คลิกที่ Classify จะมีหน้าต่าง Classification แสดงขึ้นมา ในช่อง Method ให้เลือกอย่างอื่นที่ไม่ใช่ Manual จากนั้นใน   ช่อง Classes เลือก 3 แล้วค่อยกลับมาเลือกเป็น Manual ในช่อง Break Values ให้ใส่ค่าสูงสุดในแต่ละช่วง > กด OK


ผลลัพธ์ final







วิดีโอการทำ Raster Model







เสนอ


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ พลีรักษ์




จัดทำโดย



63170018 จิตตินันท์ คงเสือ  กลุ่ม 01





63170040 รัชนีกร พันธวงศ์  กลุ่ม 01





63170049 จิราวรรณ ปะนามะเท  กลุ่ม 01





63170064 บุณยาพร จงจอหอ  กลุ่ม 01





63170071 ภรัณยา อาลัยรักษ์  กลุ่ม 01



คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา







































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Raster Model

 การทำ Raster Model ด้วยโปรแกรม ArcMap Raster Model การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการปลูกข้าวจังหวัดปราจีนบุรี มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ กำห...